ปลูกฟ้าทะลายโจร เทคนิคการปลูกและดูแลรักษา สู้ภัยโควิด-19

วิธีการปลูกฟ้าทะลายโจร

ฟ้าทะลายโจร พืชสุมนไพรไทยเศรษฐกิจตัวใหม่ที่ตลาดต้องการมากในช่วงนี้ การปลูกเพื่อนป้อนให้การแพทย์แผนไทยนำไปต่อสู้กับโควิด-19 ที่กำลังระบาดอยู่ในขณะนี้

เทคนิคการปลูกและดูแลรักษาฟ้าทะลายโจร

1. การเตรียมการก่อนปลูก
การเตรียมดิน
– ขุดหรือไถพรวนเพื่อให้ดินร่วนซุย
– หากวัชพืชมีไม่มากให้ท าการไถพรวนครั้งเดียว ถ้ามีมากให้ไถพรวน 2 ครั้ง คือ ไถดะ เปิดหน้าดิน และตากดินไว้ประมาณ 2 สัปดาห์ แล้วจึงไถแปร ปรับปรุงดินด้วยปุ๋ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยคอก/ปุ๋ยหมัก
การเตรียมพันธุ์
– ขยายพันธุ์ด้วยเมล็ด ใช้เมล็ดจากฝักแก่จัด เมล็ดต้องมีสีน้ าตาลแดง ลักษณะสมบูรณ์ปราศจากโรคและแมลง
– เนื่องจากเมล็ดมีเปลือกแข็ง ก่อนปลูกแช่เมล็ดในน้ าที่อุณหภูมิห้อง ประมาณ 6-12 ชั่วโมง เพื่อให้น้ าซึมผ่านเมล็ดและเมล็ดสามารถงอกได้

2. การปลูก
ฟ้าทะลายโจรสามารถปลูกได้หลายวิธี ดังนี้
– การปลูกแบบหว่าน น าเมล็ดมาผสมทรายหยาบ อัตรา 1:1-2 ใช้เมล็ด 100-400 เมล็ดต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร วิธีนี้เกษตรกรนิยมแต่มีข้อจ ากัด คือท าให้สิ้นเปลืองเมล็ดพันธุ์ซึ่งมีราคาสูง
– การปลูกแบบโรยเมล็ดเป็นแถว ขุดร่องตื้นๆเป็นแถวยาว โรยเมล็ดและกลบดินบางๆ ระยะปลูกระหว่างแถวประมาณ 40 เซนติเมตร ใช้เมล็ดประมาณ 50-100 เมล็ดต่อความยาว 1 เมตร วิธีนี้ท าให้สามารถกำจัดวัชพืชซึ่งเป็นปัญหาสำคัญได้สะดวก
– การปลูกโดยใช้กล้า มีขั้นตอนดังนี้
1). เพาะกล้า เพาะกล้าในถาดเพาะกล้า หรือเตรียมแปลงเพาะโดยยกแปลงกว้าง 1 เมตร สูงประมาณ 15-20เซนติเมตร ย่อยดินให้ละเอียดใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองพื้น ½-1 กิโลกรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร
2) การเตรียมหลุมปลูก ขุดหลุมกว้างประมาณ 15 เซนติเมตร ลึกประมาณ 8-12 เซนติเมตร เป็นแถว ให้มีระยะปลูกระหว่างต้น 20-30 เซนติเมตร และระหว่างแถว 40 เซนติเมตร ใส่ปุ๋ยอินทรีย์รองก้นหลุมประมาณ 125 กรัมต่อหลุม และคลุกเคล้าให้เข้ากับดิน
3) ย้ายกล้าปลูก เมื่อกล้ามีอายุประมาณ 30 วัน ก่อนย้ายกล้า รดน้ าแปลงให้ชุ่ม แล้วจึงใช้ช้อนขุดหรือเสียมแซะกล้าไปปลูกในหลุมที่เตรียมไว้ 1 ต้นต่อหลุม หลังปลูกรดน้ าทันที

3. การดูแลรักษา
– การคลุมแปลง โดยเฉพาะพื้นที่ปลูกเป็นที่โล่งแจ้ง ลมพัดแรงจัด แดดจัด ฝนตกชุก ควรคลุมแปลงด้วยฟางหรือใบหญ้าคาบางๆ เพื่อลดการชะล้างของน้ำ ความชื้น ทำให้เมล็ดงอกได้เร็วขึ้น
– การปลูกซ่อม หลังจากปลูกแล้วประมาณ 7-15 วัน ถ้าพบว่าต้นกล้าที่ปลูกตายหรือไม่งอก ควรปลูกซ่อมทันที
– การถอนแยก หลักจากปลูกแล้วประมาณ 30-45 วัน ถ้าพบว่าต้นกล้าที่ขึ้นแน่นมากเกินไป ให้ทำการถอนแยกไปปลูกในแปลงอื่น
– การใส่ปุ๋ย แบ่งใส่เป็นระยะ ดังนี้ อายุ 60 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ประมาณ 125 กรัมต่อต้น หรือ 300-400 กรัมต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร อายุ 90-110 วัน ให้ใส่ปุ๋ยอินทรีย์ 300-500 กรัม ต่อพื้นที่ 1 ตารางเมตร

– วิธีการใส่ปุ๋ย แบบหว่าน ต้องหว่านให้กระจายสม่ าเสมอ หลังหว่านแล้วต้องรดน้ าทันที อย่าให้ปุ๋ยค้างที่ใบ แบบโรยหรือหว่านเป็นแถว ตามแนวขนานระหว่างแถวปลูกห่างจากแถวปลูกประมาณ 10-15 เซนติเมตร โดยขุดเป็นร่อง ใส่ปุ๋ยพรวนดินกลบ เหมาะกับการปลูกแบบโรยเป็นแถว
– แบบหยอดโคน ใส่ปุ๋ยห่างจากโคนต้นประมาณ 10 เซนติเมตร โดยขุดหลุมฝังกลบดินหรือโรยรอบๆ โคนต้นแล้วพรวนดินกลบก็ได้ เหมาะกับการปลูกแบบมีระยะปลูก
– การให้น้ำ : ระยะ 30-60 วันแรกหลังจากปลูก ถ้าแดดจัด ควรให้น้ าวันละ 2 ครั้ง เช้า เย็น ถ้าแดดไม่จัดควรให้น้ำวันละครั้ง หลังจากอายุ 60 วันไปแล้วอาจให้น้ าวันเว้นวันก็ได้ หรือให้ตามความเหมาะสมตามสภาพพื้นที่และสภาพอากาศ

4.โรคและศัตรูพืชที่สำคัญ
– วัชพืช ควรกำจัดโดยการถอนโดยเฉพาะในระยะแรกปลูกถึง 2 เดือน ก าจัดวัชพืชทุกครึ่งเดือนจนกระทั้งฟ้าทะลายโจรเจริญคลุมแปล
– โรค ไม่พบโรคที่ท าความเสียหายรุนแรง เพียงแต่ท าความเสียหายเล็กน้อย ได้แก่ โรคโคนเน่าและรากเน่าจากเชื้อราหากพบให้ถอนท าลายทันที โรคแอนเทรคโนส พบตรงกลางหรือปลายใบ หากพบให้ตัดส่วนที่เป็นโรคทิ้ง
– แมลง ไม่พบแมลงชนิดใดที่ทำความเสียหายรุนแรง

5. การปฏิบัติก่อนและหลังการเก็บเกี่ยว
– เก็บเกี่ยวในช่วงที่พืชออกดอกตั้งแต่เริ่มออกดอกจนถึงดอกบาน 50% เป็นช่วงที่มีสารส าคัญสูง โดยพบมาที่ส่วนยอดและใบ วิธีการเก็บเกี่ยวให้ตัดทั้งต้นให้เหลือตอสูงประมาณ 5-10 เซนติเมตร เพื่อให้เจริญให้ผลผลิตต่อไป ใช้เวลาประมาณ 2-3 เดือนจึงสามารถเก็บเกี่ยวได้อีกครั้ง
– การปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว น าไปคัดแยกสิ่งปนปลอม เช่นวัชพืชที่ปะปนมา และล้างให้สะอาด ตัดเป็นท่อนๆ ยาวประมาณ 3-5 เซนติเมตร ผึ่งให้แห้ง ท าแห้งโดย ตากแดดบนลานตากยกพื้นมีวัสดุรองรับที่สะอาด หรือใช้เครื่องอบแห้งแบบลมร้อน ที่อุณหภูมิ 50 องศาเซลเซียสใน 8 ชั่วโมงแรก และลดอุณหภูมิเหลือ 40-45 องศาเซลเซียส อบต่อจนแห้งสนิท

6. ข้อมูลอื่นๆ
– สารสำคัญออกฤทธิ์มีสารสำคัญประเภท ไดเทอร์ฟีน แลคโตน (diterpene lactones) ได้แก่แอนโดรการโฟไลด์ (andrographolide) มีฤทธิ์ลดไข้ และต้านอักเสบ และ ดีออกซี แอนโดรการโฟไลด์ (deoxyandrographolide) ซึ่งมีฤทธิ์ยับยั้งเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของท้องร่วง มาตรฐานของฟ้าทะลายโจรที่ใช้ในการผลิตยาจะต้องมี andrographolide ไม่น้อยกว่า 6% โดยน้ำหนัก
– สรรพคุณ รักษาอาการไข้ทั่วไป เช่น ไข้หวัด ไข้หวัดใหญ่ ลำไส้อักเสบ ปอดอักเสบ คอเจ็บ ทอนซิลอักเสบ หลอดลมอักเสบ อาการติดเชื้อซึ่งมีการปวดท้อง ท้องเสีย บิดและกระเพาะลำไส้อักเสบ
– การใช้ประโยชน์ฟ้าทะลายโจร กระทรวงสาธารณสุขจัดฟ้าทะลายโจรอยู๋ในบัญชียาหลัก(สมุนไพร) นอกจากนี้ยังมีการใช้ในปศุสัตว์โดยฟ้าทะลายโจรใช้เป็นส่วนผสมในอาหารสุกรและไก่ เพื่อทดแทนการใช้ยาปฏิชีวนะ

แนวทางการเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต
1. การเก็บเกี่ยวให้ได้สารสำคัญออกฤทธิ์สงูสดุ
– การเก็บผลผลิตฟ้ าทะลายโจรแบบแยกส่วน ได้แก่ ตัดส่วนยอด 25 เซนติเมตร ในระยะออกดอก 25-75 % จะได้สารสำคัญออกฤทธิ์สูงสุด และตัดส่วนที่เหลือเหนือดินห่างโคนต้น 4 ข้อ แยกผลผลิตจำหน่ายตามคุณภาพ
– เก็บเกี่ยวถูกระยะโดยเป็ นระยะเริ่มออกดอกถึงออกดอก 50 % ที่ฟ้าทะลายโจรมีใบมาก ใบฟ้าทะลายโจรจะมีปริมาณสารสำคัญสูงกว่ากิ่งก้าน และไม่ควรนับอายุการเก็บเกี่ยว (110-150 วัน) เพียงอย่างเดียว เนื่องจากในแต่ละช่วงการผลิตอายุการออกดอกอาจจะแตกต่างกัน หากเก็บเกี่ยวช้า ในระยะที่ติดเมล็ดแล้ว ใบจะลดลงเหลือแต่กิ่งก้านทำให้มีปริมาณสารส าคัญต่ำ
2. การปลูกแบบเพาะกล้าและก าหนดระยะปลูกเพื่อให้ได้ปริมาณผลผลิตสูงสุด
– ปลูกช่วงฤดูแล้ง ให้ปลูกระยะ 30×40 เซนติเมตร หรือประมาณ 13,333 ต้น/ไร่
– ปลูกในช่วงฤดูฝน ให้ปลูกระยะ 30×60 เซนติเมตร หรือประมาณ 8,888 ต้น/ไร่
3. การให้น้ำเพื่อให้ผลผลิตและสารส าคัญสูงสุด
– การปลูกฟ้าทะลายโจรจำเป็นต้องได้รับน้ำปริมาณที่พอเพียงและสม่ำเสมอตั้งแต่ปลูกถึงเก็บเกี่ยว