นครพนม มีสภาพภูมิอากาศ ลักษณะของภูมิประเทศ เป็นอย่างไร

นครพนม

มาทำความรู้จักจังหวัดนครพนมให้มากขึ้น ในเรื่องของสภาพภูมิอากาศ ลักษณะของภูมิประเทศว่าจะเป็นอย่างไรกันบ้าง ก่อนที่จะไปเยือนเมืองท่องเที่ยวแห่งนี้

สภาพภูมิอากาศ

โดยทั่วไปจังหวัดนครพนมเป็นจังหวัดที่มีฝนตกชุกในฤดูฝน ทั้งนี้ เพราะได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ที่พัดปกคลุม และอิทธิพลจากป่าไม้และเทือกเขาจากสาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว รวมทั้งพายุจากทะเลจีนใต้ ที่เคลื่อนผ่านหรือเคลื่อนเข้าใกล้ ฝนตกชุกตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคมถึงกลางเดือนตุลาคม ซึ่งในปี 2557 มีฝนตก 139 วัน ปริมาณฝน 2,410.2 มิลลิเมตรฝนปีนี้ มากกว่าปีที่แล้ว 355.7 มิลลิเมตร หรือ มากกว่าปีที่แล้ว 14 % อุณหภูมิสูงสุด 38.5 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 30 มีนาคม 2557 และ อุณหภูมิต่ําที่สุด 6.9 องศาเซลเซียส เมื่อวันที่ 22 มกราคม 2557 สภาพดินฟ้าอากาศของจังหวัดนครพนม แบ่งออกเป็น 3 ฤดู

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนกุมภาพันธ์ – กลางเดือนพฤษภาคม ของทุกปี ฤดูร้อนจะมีอากาศร้อนอบอ้าว อุณหภูมิเฉลี่ย 25-35 องศาเซลเซียส และมีอุณหภูมิสูงสุดอยู่ระหว่าง 37-40 องศาเซลเซียส
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่กลางเดือนพฤษภาคม – กลางเดือนตุลาคม ของทุกปี ในบางส่วนของจังหวัดมีฝนตกชุก โดยเฉพาะพื้นที่ อําเภอที่อยู่ริมฝั่งแม่น้ําโขง จะประสบอุทกภัย ได้รับความเสียหายเป็นประจําทุกปี เช่น
    อําเภอเมือง อําเภอท่าอุเทน และอําเภอบ้านแพง เป็นต้น ปริมาณฝนเฉลี่ย 2,424.4 มิลลิเมตร/ป)
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่กลางเดือนตุลาคม – กลางเดือนกุมภาพันธ์ของทุกปี โดยทั่วไปอากาศจะหนาวเย็น อุณหภูมิเฉลี่ย 16-25 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ําสุดอยู่ในช่วง 8-15 องศาเซลเซียส แต่ก็มีบางปีที่อุณหภูมิต่ําสุด จะต่ํากว่านั้นได้

ลักษณะภูมิประเทศ

จังหวัดนครพนม มีลักษณะภูมิประเทศทั่วไปเป็นที่ราบสูง ความสูงของพื้นที่โดยเฉลี่ยสูงกว่าระดับน้ําทะเล ประมาณ 140 เมตร สภาพภูมิประเทศแบ่งออกได้เป็น 2 เขต ดังนี้
เขตตอนเหนือ สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นเนินสูงและที่ดอน มีป่าไม้สลับกับพื้นที่ราบ ทางตอนกลางและตะวันตกของพื้นที่จะเป็นที่ราบลุ่มมีลักษณะเป็นทุ่งกว้างซึ่งปีใดมีฝนตกชุกจะมีสภาพน้ําท่วมขัง

เขตตอนใต้ พื้นที่บริเวณใกล้แม่น้ําโขงเป็นที่ราบลุ่มมีน้ําท่วมถึงส่วนทางทิศตะวันตกซึ่งอยู่ห่างออกไปพื้นที่มีลักษณะเป็นลูกคลื่น และที่ดอนสภาพป่าเป็นไม้เต็งรัง พื้นดินส่วนมากเป็นหินลูกรัง บางส่วนมีลักษณะเป็นเนินและที่ต่ําสลับกัน